
เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน จากวัสดุเหลือใช้และวัสดุรีไซเคิล นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางธุรกิจ SME อันเนื่องมาจาก ปัจจุบันกระแสความต้องการสินค้าที่มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า กรีน โปรดักส์(Green Products) กำลังกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ จึงก่อเกิดเป็นธุรกิจภายใต้แนวคิด “กรีน คอนเซปต์(Green concept)” หรือแนวคิดเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรโลก แต่เดิมผู้บริโภคจะนิยมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้ และพืชเส้นใยต่างๆ แต่ปัจจุบันตลาดเริ่มเปิดกว้างและยอมรับวัสดุสังเคราะห์อื่นๆที่นำมาจากสิ่งของเหลือใช้ในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น อาทิ พลาสติก แก้ว เศษกระดาษ โลหะ ลวดอะลูมิเนียม เหล็ก ทองเหลือง ทองแดง กระป๋อง เศษไม้ เศษผ้า ถุงใส่ของ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ เป็นต้น ผู้ผลิตที่เล็งเห็นโอกาสก็สามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากเศษวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือสิ่งของที่ผ่านการใช้งานแล้วจากครัวเรือน หรือสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วตามชุมชนต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ในการดีไซน์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบแปลกใหม่ สามารถใช้งานได้จริง และมีความปลอดภัยในการใช้งาน โดยอาศัยความชำนาญด้านงานฝีมือหรืองานช่างขั้นพื้นฐาน ก็สามารถนำวัสดุเหลือใช้เหล่านั้นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันก็สามารถชูประเด็นให้ผลิตภัณฑ์ของตนเป็นสินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงยังสามารถตอบสนองแนวทาง 3R ได้ คือ Reduce, Reuse และ Recycle เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติเป็นสำคัญ แนวทางการเริ่มทำธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน จากวัสดุเหลือใช้และวัสดุรีไซเคิลของผู้ประกอบการ SME ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน จากวัสดุเหลือใช้และวัสดุรีไซเคิลของผู้ประกอบการ SME มีดังนี้ - เกาะกระแสตลาดเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความต้องการลูกค้าในตลาด
- การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design) ให้เป็นเอกลักษณ์ส่วนตัว นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในธุรกิจนี้ ผลิตเป็นผลงานที่แปลกใหม่ สวยงาม มีคุณภาพ และปลอดภัย จะสามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่าง เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ที่สร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือใช้
ก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจนั้น ผู้ประกอบการควรเริ่มพิจารณาปัจจัยประกอบทั้ง 3 ด้าน ดังนี้ 2.รู้จักตลาดลูกค้าและคู่แข่ง ติดตามภาวะตลาดและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ศึกษาความต้องการลูกค้า และแบ่งแยกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทั้งตลาดในและต่างประเทศ ศึกษาข้อมูลคู่แข่งในตลาด ทั้งตัวผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ เพื่อประกอบการวางแผนการตลาดของธุรกิจต่อไป 3.การวางเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ ตั้งเป้าหมายธุรกิจอย่างชัดเจน ว่าจะทำการผลิตอะไร(What) ด้วยวิธีอย่างไร (How) และกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน (For Whom) จัดวางรูปแบบองค์กร จัดหาพนักงาน การหาแหล่งเงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย และวิธีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจเปิดธุรกิจทั้งแบบมีหน้าร้าน หรืออาจไม่มีหน้าร้าน แต่อาศัยการนำเสนอสินค้าและจำหน่ายผ่านทางสื่อเว็บไซต์ ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางซึ่งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน
การออกแบบโลโก้/สัญลักษณ์ของธุรกิจ ควรมีความเด่นสะดุดตา สื่อความหมายของตัวผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน เช่น ใช้รูปภาพหรือสีที่เป็นธรรมชาติ เช่น เลือกใช้โทนสีเขียว น้ำตาล หรือสีโทนเย็น เป็นต้น ตั้งชื่อแบรนด์ให้สั้นๆ จดจำง่าย สื่อได้ว่าเป็นกรีนโปรดักส์หรือเป็นสินค้าที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ล้วนๆ อีกทั้ง ยังควรใช้ตัวอักษรที่ชัดเจน อ่านง่าย เพราะถือเป็นเครื่องหมายการค้าที่ให้ลูกค้าสามารถจดจำได้ง่าย และเป็นเสมือนตัวแทนของผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เกิดจากการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งในกรณีของผู้ประกอบการ SME นั้นอาจไม่มีเงินทุนมากพอที่จะใช้สื่อโฆษณาต่างๆ แต่สามารถอาศัยช่องทางกระจายข้อมูลจากการบอกต่อของลูกค้า (word of mouth) ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ไปแล้ว หรือแค่เพียงเคยชื่นชมผลงาน ซึ่งก็ถือเป็นการทำตลาดที่ประหยัดงบประมาณที่สุดทางหนึ่ง และเหมาะสมกับธุรกิจ SME ในระยะตั้งตัว รวมถึงอาศัยช่องทางนำเสนอผลิตภัณฑ์และจัดจำหน่ายทาง website ก็จะทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ การออกบูธตามงานแสดงสินค้าต่างๆ ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ โดยอาจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก ที่มีการจัดให้สมาชิกเดินทางไปดูงานยังต่างประเทศ ก็เป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมถึงสร้างโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศด้วย อีกทั้งผู้ประกอบการก็ควรทำการตลาดอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการตอกย้ำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ และคอยติดตามผลงานที่ผลิตออกมาใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับที่มีนักการตลาดหลายคนได้กล่าวว่า “การสร้างแบรนด์นั้นยาก แต่การจะทำให้แบรนด์คงอยู่นั้นยากยิ่งกว่า” :: สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มได้จาก ksmecare.com :: |